Wednesday, December 13, 2023

แนะนำ My GPTs สร้าง ChatGPT ในแบบของคุณเอง

เมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน 2566 ที่ผ่านมา ... OpenAI ประกาศปล่อยฟีเจอร์ My GPTs บน ChatGPT สำหรับผู้ใช้ Plus และ Enterprise ให้ได้ใช้งานกัน ผู้เขียนทดสอบอยู่ระยะหนึ่ง พบว่าเป็นฟีเจอร์ที่น่าสนใจเป็นอย่างมาก คือเสมือนหนึ่งว่าต่อไปผู้ใช้จะสามารถปรับแต่ง ChatGPT ให้เป็น ChatGPT เฉพาะเรื่องเฉพาะงานได้เองตามต้องการตั้งแต่เรื่องทั่วไป เช่น คณิตศาสตร์พื้นฐาน ไปจนถึงเรื่องทางเทคนิคเฉพาะด้านเพื่อสนับสนุนการทำงานผู้เชี่ยวชาญด้านต่าง ๆ ... GPT ที่สร้างขึ้น (หรือเรียกว่า My GPTs) จะใช้ส่วนตัว หรือเปิดให้ใช้สาธารณะก็ได้ ในอีกไม่นาน OpenAI จะสร้าง GPT Store มารองรับ เปิดโอกาสให้ผู้สร้าง GPT ได้นำเสนอผลงานของตัวเอง รวมไปถึงการสร้างรายได้จากการที่มีผู้ใช้คนอื่นทำการ Install GPT ที่สร้างไว้บน Store ได้อีกด้วย

วิธีสร้าง GPT

1) ไปที่ https://chat.openai.com (คลิกที่ Account Name มุมล่างซ้าย แล้วเลือก “My GPTs”)



2) ในแท็บ Create ผู้ใช้เขียน prompt สั่ง GPT Builder เพื่อช่วยสร้าง GPT ใหม่ เช่น “สร้างนักออกแบบกราฟฟิกสร้างภาพสำหรับผลิตภัณฑ์ใหม่” หรือ “สร้างวิศวกรซอฟต์แวร์ที่ช่วยจัดรูปแบบโค้ดของฉัน” 


3) ตั้งชื่อและระบุคำอธิบายของ GPT ที่จะสร้าง โดยไปที่แท็บ Configure ซึ่งผู้ใช้จะสามารถเลือก action ต้องการให้ GPT ทำ เช่น การเรียกดูเว็บหรือสร้างภาพ


4) เมื่อพร้อมที่จะเผยแพร่ GPT ที่สร้างเสร็จแล้ว เลือก “Publish” เพื่อใช้งานส่วนตัว หรือแชร์ให้กับคนอื่น ๆ ก็ได้ตามต้องการ ... โดยแม้จะ publish ไปแล้วก็สามารถเข้ามาปรับแต่งได้เสมอในภายหลัง

การตั้งค่าเพิ่มเติม (Advanced Settings)

ใน GPT Editor ผู้ใช้สามารถกำหนดการตั้งค่าที่ละเอียดยิ่งขึ้นสำหรับ GPT ที่จะสร้างขึ้น ... โดยด้านบนมีสองแท็บที่มีชื่อว่า Create และ Configure ... แท็บ Create อนุญาตให้ผู้ใช้เขียน prompt ส่งไปยัง GPT Builder เพื่อช่วยสร้าง GPT ใหม่ หากต้องการให้คำแนะนำเกี่ยวกับ GPT ที่จะสร้างที่ละเอียดยิ่งขึ้น ก็สามารถกำหนดได้ในแท็บ Configure

การตั้งค่าในแท็บ Configure

Adding an image: ผู้ใช้สามารถขอให้ GPT Builder สร้างรูปภาพสำหรับ GPT ของตัวเอง (คล้าย ๆ logo โดย ChatGPT จะเรียกใช้ DALL-E มาสร้างภาพให้) หรืออัปโหลดภาพของตัวเองก็ได้

Additional Instructions: ผู้ใช้สามารถเขียน prompt เพื่อให้คำแนะนำหรือแนวทางที่ละเอียดเกี่ยวกับวิธีการทำงาน ลักษณะความสามารถ และพฤติกรรมที่ควรหลีกเลี่ยง ของ GPT ที่จะสร้าง

Prompt Starters: เป็นตัวอย่างของ prompt สำหรับผู้ใช้เริ่มการใช้งาน GPT ที่จะสร้าง

Knowledge: ผู้ใช้สามารถอัปโหลดไฟล์ป้อนความรู้เพื่อเป็นฐานความรู้เพิ่มเติมสำหรับ GPT ที่จะสร้าง พึงรับทราบไว้ก่อนว่าเนื้อหาจากไฟล์ที่อัปโหลดอาจถูกรวมอยู่ในผลลัพธ์แบบตรง ๆ ในบางกรณี

Capabilities: กำหนดได้ว่าจะให้ GPT ที่สร้างขึ้นทำอะไรได้เพิ่มเติมอีก ได้แก่ Web Browsing, DALL·E Image Generation และ Code Interpreter 

Custom Actions: ผู้ใช้สามารถดึง API จาก Third Party มาใช้ได้กับ GPT ที่จะสร้างขึ้น โดยการให้รายละเอียดเกี่ยวกับ endpoint parameters และคำอธิบายวิธีใช้ ... Actions for GPTs ยังยอมให้นำเข้าจาก OpenAPI schema ได้ด้วย ดังนั้นหากได้สร้างปลั๊กอินไว้แล้ว ผู้ใช้จะสามารถใช้ปลั๊กอินแมนิเฟสต์ที่มีอยู่เพื่อกำหนด Actions สำหรับ GPT ที่จะสร้างได้

Wednesday, November 29, 2023

A Child's Pain in a World at War

 


This photograph shows a sad Palestinian child with tears on her face near a fallen building and some fires. It feels quiet and low, like a sad movie scene, with pretty sunlight in the background. The child looks really hurt by the bad things happening around her.

The photograph wants people to understand how destructive wars are, especially for innocent kids. It wants everyone to see that, beyond the big news about wars, there are children who suffer a lot. The sunlight in the photo makes it even more important to notice and do something to keep kids safe from these difficult situations.

AI Platform: Midjourney

Prompt: The photograph of a crying Palestinian child with a tear on her face surrounded by a collapsed building with some fire spots. The photograph has a dull atmosphere in a cinematic tone with a gorgeous backlight from sunset. --v 5.2 --ar 3:2

Friday, November 24, 2023

แนวทางพื้นฐานการเขียน Prompt บน ChatGPT



การใช้ Prompt ในการติดต่อกับ ChatGPT เป็นทักษะที่มีประโยชน์อย่างมาก ผู้เขียนขอนำเสนอข้อแนะนำจากการทดลองใช้และจากการศึกษาตัวอย่างการใช้งานที่ผู้เขียนพบว่าช่วยให้ได้ผลลัพธ์จาก ChatGPT ดีขึ้น ดังนี้ครับ

  1. 1) เลือกคำถามหรือคำสั่งที่ชัดเจน: การเลือกคำถามหรือคำสั่งที่ชัดเจนจะช่วยให้ ChatGPT เข้าใจเนื้อหาที่คุณต้องการมากขึ้น สามารถใช้คำที่มีความเฉลี่ยยาวไม่เกิน 10-15 คำ เพื่อไม่ทำให้ Prompt ซับซ้อนเกินไป

  2. ตัวอย่าง

    Prompt ที่ไม่ชัดเจน: "Explain AI"

    Prompt ที่ชัดเจน: "Provide a detailed explanation of Artificial Intelligence, including its definition, key components, and real-world applications. Additionally, discuss the impact of AI on various industries."

    คำอธิบาย: ในตัวอย่างที่ไม่ชัดเจน "Explain AI" อาจทำให้ ChatGPT ไม่เข้าใจว่าคุณต้องการข้อมูลเกี่ยวกับ AI เชิงลึกหรือขอบเขตการอธิบายกว้างไกลสักขนาดไหน ในทางตรงกัน prompt ที่ชัดเจนระบุแนวทางเฉพาะ ทั้งการต้องการคำนิยาม ส่วนประกอบสำคัญ และการสนทนาเกี่ยวกับผลกระทบของ AI ทำให้ ChatGPT เข้าใจขอบเขตและข้อมูลที่ต้องการในการสร้างคำตอบ


  3. 2) การใช้คำสั่งที่เป็นบทความวิชาการ: ในกรณีที่ต้องการให้ ChatGPT แสดงผลลัพธ์เชิงวิชาการ ควรลองใช้คำสั่งแบบคล้าย ๆ เป็นบทความวิชาการ เช่น "Explain the concept of..." หรือ "Describe the process of..."

  4. ตัวอย่าง

    Prompt ที่ไม่ได้ใช้: "Describe Renewable Energy."

    Prompt ที่ใช้: "Imagine you are teaching a class about Renewable Energy. Create a comprehensive lesson plan that covers the definition of renewable energy, different types of renewable sources, and their environmental impact. Additionally, provide real-world examples of successful renewable energy projects."

    คำอธิบาย: ในตัวอย่างที่ไม่ได้ชี้ชัด เช่น "Describe Renewable Energy" อาจทำให้ ChatGPT ไม่เข้าใจว่าคุณต้องการข้อมูลทั้งหมดเกี่ยวกับพลังงานทดแทนหรือไม่ ในทางตรงกันข้าม prompt ที่เป็นคำสั่งแบบบทความวิชาการช่วยให้ ChatGPT เข้าใจว่าคุณต้องการเนื้อหาที่มีโครงสร้างตามที่กำหนด โดยการขอให้ "Create a comprehensive lesson plan" ซึ่งคุณจะได้กำหนดโครงสร้างของข้อมูลที่คุณต้องการ เช่น นิยาม ประเภทของแหล่งพลังงานทดแทน ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และตัวอย่างโครงการที่ประสบความสำเร็จ เป็นต้น


  5. 3) การปรับแต่งความสร้างสรรค์: การปรับแต่ง Prompt ให้มีคำสั่งที่บ่งชี้ความสร้างสรรค์ตามจินตนาการ จะช่วยกำหนดแนวทางผลลัพธ์จาก ChatGPT ให้เป็นไปตามจินตนาการของคุณ

  6. ตัวอย่าง

    Prompt ที่ไม่ได้ปรับแต่ง: "Write a story about a cat."

    Prompt ที่ได้ปรับแต่ง: "Craft an imaginative and unique short story that revolves around a mischievous cat with the ability to time travel. Explore the cat's adventures across different historical eras, incorporating elements of humor and suspense. Be sure to include unexpected twists that keep the reader engaged."

    คำอธิบาย: Prompt ที่ไม่ได้ปรับแต่งอาจทำให้ ChatGPT สร้างเรื่องที่เป็นไปได้ทั่วไปเกี่ยวกับแมว ในทางตรงกันข้าม Prompt ที่ได้ปรับแต่งมีคำแนะนำเพิ่มเติมเพื่อให้ ChatGPT สร้างเรื่องน่าความสนใจ โดยการให้คำแนะนำ "Craft an imaginative and unique short story" คุณสามารถกำหนดความคาดหวังในการสร้างเรื่องที่ไม่ธรรมดา ด้วยการให้รายละเอียดเพิ่มเติม เช่น "revolves around a mischievous cat with the ability to time travel" ช่วยเพิ่มความสร้างสรรค์และการนำเสนอไอเดียที่น่าสนใจ


  7. 4) ทดลองและปรับปรุง: ลองเขียน Prompt ไปเลยแล้วดูผลลัพธ์ที่ได้ จากนั้นทดลองปรับปรุงจนได้ผลลัพธ์ที่ต้องการ การทดลองจะช่วยคุณเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับวิธีการเขียน Prompt ที่มีประสิทธิภาพ

  8. ตัวอย่าง

    Prompt ทดลอง: "Tell me about the benefits of exercise."

    Prompt ที่ได้ปรับปรุง: "Imagine you are creating a persuasive speech to motivate people to adopt a regular exercise routine. Begin by highlighting the physical health benefits, such as improved cardiovascular health and increased strength. Then, delve into the mental health advantages, discussing the positive impact on mood, stress reduction, and cognitive function. Finally, include real-life success stories or examples that showcase the transformative power of incorporating exercise into one's lifestyle."

    คำอธิบาย: Prompt ที่ได้ปรับปรุงให้คำแนะนำเพิ่มเติมจะเปิดโอกาสให้ ChatGPT สร้างเนื้อหาที่สอดคล้องกับผลลัพธ์ที่ต้องการ การให้คำแนะนำ "Imagine you are creating a persuasive speech" ช่วยให้ ChatGPT เข้าใจว่าคุณต้องการข้อมูลที่เน้นทั้งการอธิบายและการโน้มน้าว ถ้อยคำ "physical health benefits" และ "mental health advantages" ช่วยให้ ChatGPT รับรู้ถึงมุมมองทั้งทางร่างกายและจิตใจของการออกกำลังกาย การระบุ "real-life success stories or examples" ช่วยสร้างความน่าสนใจและเชื่อถือได้ในข้อมูลที่ให้มา


  9. 5) การควบคุมความยาว: ในกรณีที่ต้องการข้อความที่สั้นกระชับ ลองเพิ่มข้อจำกัดเกี่ยวกับความยาวด้วย จำนวนคำ หรือจำนวนย่อหน้า เพื่อป้องกันข้อความที่ยาวเกินไป

ตัวอย่าง

Prompt ที่ไม่ควบคุมความยาว: "Discuss the impact of climate change on biodiversity."
  1. Prompt ที่ควบคุมความยาว: "Compose a concise summary of the impact of climate change on biodiversity, covering key points such as habitat loss, species extinction, and disruptions in ecosystems. Aim for a response that is informative and to the point, limiting the length to approximately 200 words."

    คำอธิบาย: Prompt ที่ควบคุมความยาวช่วยให้ ChatGPT สร้างข้อมูลที่กระชับและมีประสิทธิภาพ การให้คำแนะนำ "Compose a concise summary" และ "limiting the length to approximately 200 words" ช่วยบอกให้ ChatGPT ทราบว่าคุณต้องการข้อมูลที่สั้นและกระชับ นอกจากนี้ การระบุหัวข้อหลักเช่น "impact of climate change on biodiversity, covering key points such as habitat loss, species extinction, and disruptions in ecosystems" ช่วยให้ ChatGPT ทำการรวมรวบข้อมูลที่สำคัญแบบเจาะจงโดยไม่ต้องยาวเกินไป.


  2. 6) ใส่เนื้อหาเพิ่มเติม: เพิ่มคำอธิบายหรือข้อมูลเพิ่มเติมใน Prompt เพื่อให้ ChatGPT มีข้อมูลที่มากขึ้นในการสร้างคำตอบ

ตัวอย่าง

Prompt ทดลอง: "Explain the concept of artificial intelligence."

Prompt ที่ใส่เนื้อหาเพิ่มเติม: "Imagine you are writing an educational blog post aimed at beginners. Begin by providing a simple definition of artificial intelligence (AI) and then delve into its two main types: narrow or weak AI and general or strong AI. Further, explore real-world applications of AI, such as virtual assistants, image recognition, and autonomous vehicles. Conclude by discussing the potential benefits and challenges associated with the widespread adoption of AI technologies. Aim for a well-structured and engaging response of around 300 words."

คำอธิบาย: Prompt ที่ใส่เนื้อหาเพิ่มเติมช่วยประมาณการจำนวนคำและทำให้ ChatGPT เข้าใจว่าคุณต้องการเนื้อหาที่เป็นการอธิบายเชิงลึกอย่างไรบ้าง การระบุ "writing an educational blog post aimed at beginners" ช่วยให้ ChatGPT มีมุมมองที่ตรงกับกลุ่มเป้าหมาย นอกจากนี้ การระบุ "around 300 words" ช่วยกำหนดขอบเขตของข้อมูลที่ต้องการให้มีขนาดพอดี การเรียกใช้คำสั่ง "Begin by providing a simple definition" และ "Conclude by discussing" ช่วยให้ ChatGPT สร้างผลลัพธ์ที่มีโครงสร้างเป็นระเบียบ มีกรอบชัดเจน

  1. 7) ควบคุม Bias: หากคุณต้องการผลลัพธ์ที่มีการแสดงผลที่ไม่โน้มเอียง เป็นกลาง เน้นความหลากหลาย ควรพิจารณาการเลือกคำถามหรือคำสั่งที่ส่งเสริมให้ ChatGPT มีมุมมองไปในทิศทางเดียวกันแบบนั้น

ตัวอย่าง

Prompt ทดลอง: "Discuss the role of women in science."

Prompt ที่ควบคุม Bias: "Compose an unbiased exploration of the contributions of women in science throughout history. Provide insights into their achievements, innovations, and impact on various scientific fields. Avoid stereotypes or assumptions based on gender. Emphasize the importance of recognizing and celebrating the diverse accomplishments of women in the scientific community. Ensure a balanced representation that highlights both challenges and successes. Aim for an inclusive and informative response."

คำอธิบาย: Prompt ที่ควบคุม Bias ช่วยให้ ChatGPT สร้างข้อมูลที่ไม่โน้มเอียง การระบุ "Avoid stereotypes or assumptions based on gender" และ "Ensure a balanced representation that highlights both challenges and successes" ช่วยป้องกันปัญหาที่อาจเกิดขึ้นในการแสดงผล การเรียกใช้คำแนะนำ "Compose an unbiased exploration" และ "Emphasize the importance of recognizing and celebrating the diverse accomplishments" ช่วยให้ ChatGPT เข้าใจว่าต้องการข้อมูลที่เป็นกลางและเน้นความหลากหลายในการสร้างคำตอบ

ทั้งหมดเป็นข้อแนะนำการใช้ Prompt เบื้องต้นตามประสบการณ์ และการทดลองค้นคว้าของผู้เขียนเอง คุณสามารถปรับปรุงและพัฒนาเทคนิคต่าง ๆ เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ดียิ่งขึ้นตามความต้องการ ข้อสังเกตุสำคัญอีกประการที่ใคร่จะแนะนำคือ การเขียน Prompt แต่ละครั้งจะให้ผลแตกต่างกันไป ด้วยหลายสาเหตุที่อธิบายโดยไม่แตะรายละเอียดทางเทคนิคได้ยาก อย่างไรก็ตามการเลือกใช้ model ก็เป็นเหตุผลสำคัญอย่างหนึ่ง (ChatGPT 3.0, ChatGPT 3.5, ChatGPT 4.0) พึงระลึกเสมอว่าเรากำลังทำงานกับ AI Chatbot ไม่ใช่การ query จากระบบ MIS แบบเดิม ๆ

Most Viewed Last 30 Days