Posts

Net Zero คืออะไร? รวมศัพท์ต้องรู้ ก่อนจะงงไปมากกว่านี้

Image
ผู้เขียนทำงานประจำกับบริษัทที่ปรึกษาแห่งหนึ่งในกรุงเทพฯ ช่วงปีที่ผ่านมาจนถึงตอนนี้ ได้ยินได้ฟังเรื่องของ Net Zero อยู่บ่อย จะต้องเข้าไปเกี่ยวข้องจริงจังมากน้อยก็ตามเรื่องตามราวไป คิดว่าในอนาคตต่อจากนี้ก็คงอยู่กับเรื่องนี้มากขึ้นเรื่อย ๆ เพราะเป็นวาระระดับนานาชาติ ส่งผลโดยตรงต่อทุกภาคส่วนของสังคม การรู้ว่าคำศัพท์เฉพาะแต่ละคำที่เกี่ยวข้องกับ Net Zero มีความหมายว่าอย่างไร จะช่วยให้เข้าใจได้ดีขึ้น ผู้เขียนจึงรวบรวมคำศัพท์น่าสนใจที่เกี่ยวข้องกับ Net Zero และการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ไว้ใช้อ้างอิง เป็นประโยชน์ทั้งกับผู้เขียนเอง และคุณผู้อ่านที่สนใจเรื่องนี้  ผู้เขียนจัดกลุ่มคำศัพท์และคำอธิบายทั้งหมดเป็นหมวดหมู่ 5 กลุ่มหลัก  ดังนี้ครับ

ทำความรู้จัก G-Token นวัตกรรมการระดมทุนล่าสุดจากรัฐบาลไทย

Image
ว่าง ๆ นั่งฟังข่าว สะดุดกับคำว่า G Token หยิบดินสอ กระดาษใกล้มือจดโน๊ตตามเนื้อหาข่าว เป็นอะไรที่แปลกใหม่น่าสนใจ ผู้เขียนไปค้นคว้าเพิ่มเติมพอจะบันทึกเป็นบทความได้ตามนี้ครับ คือว่า รัฐบาลไทยเปิดตัวโครงการใหม่ล่าสุดชื่อว่า "G-Token" (Government Token) ซึ่งถือเป็นก้าวสำคัญในการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ในการระดมทุนผ่านระบบบล็อกเชน (Blockchain) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อระดมทุนจากประชาชนในการชดเชยการขาดดุลงบประมาณของประเทศในปี 2568 G-Token คืออะไร? G-Token คือ ดิจิตอลโทเคน (Digital Token) ซึ่งเป็นสินทรัพย์ดิจิทัลที่ถูกสร้างและจัดเก็บอยู่บนระบบบล็อกเชน โดยมีลักษณะใกล้เคียงกับพันธบัตรออมทรัพย์ของรัฐ แต่มีความยืดหยุ่นและเข้าถึงง่ายกว่า ประชาชนสามารถลงทุนเริ่มต้นได้ตั้งแต่ 1 บาทขึ้นไป โดยมีวงเงินในการออกทั้งหมดสูงสุด 5,000 ล้านบาท และมีอายุโทเคนไม่เกิน 1 ปีต่อรอบการออก โดยให้ผลตอบแทนในรูปแบบดอกเบี้ยที่น่าสนใจ โทเคน (Token) คือหน่วยข้อมูลหรือสิทธิ์ดิจิทัลที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อใช้แทนมูลค่า สิทธิ์ในการเข้าถึง หรือการเป็นเจ้าของสินทรัพย์ดิจิทัล โดยสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้หลากหลายตามวัตถุประส...

เผยคำสั่งลับ! ที่ทำให้ภาพ AI สมจริงเหมือนถ่ายจากกล้องจริง

Image
เคยสงสัยไหม...ทำไมภาพ AI บางภาพดูสมจริงราวกับถ่ายจากกล้อง DSLR หรือ iPhone จริง ๆ ? ท่านใดที่คุ้นเคยกับผู้เขียนคงพอจะทราบว่า ผู้เขียนสนุกกับงาน Visual Art ทั้งทางถ่ายภาพและสร้างภาพด้วย AI ใช้เวลาไปไม่น้อยกับการสร้างภาพแบบต่าง ๆ เรียนรู้เทคนิคดี ๆ มาพอสมควร  การสร้างภาพจาก AI ให้เหมือนภาพถ่ายจากกล้อง บอกเลยว่าไม่ใช่แค่ฝีมือของโมเดล AI อย่างเดียว แต่เบื้องหลัง prompt ที่ใช้สร้างภาพเหล่านั้น มี " คำสั่งลับ " ที่ช่วยหลอกระบบให้เข้าใจว่า มันกำลังสร้างภาพจากอุปกรณ์จริง! เทคนิคนี้เรียกว่า Metadata Prompting หรือการปลอมแปลงข้อมูลภาพจากกล้อง เพื่อให้ผลลัพธ์ดู "สมจริงแบบมือโปร" 🔎 Metadata ปลอม = ภาพจริง? AI อย่าง Midjourney, Leonardo หรือ Stable Diffusion ถูกฝึกจากภาพถ่ายจริงจำนวนมหาศาล ซึ่งมักมาพร้อมกับชื่อไฟล์หรือ Metadata เช่น .CR2 , .HEIC , DSC_#### , หรือชื่อกล้อง เช่น shot on Canon EOS R5 เมื่อเราพิมพ์คำพวกนี้ลงไปใน prompt AI จะเข้าใจว่าเราต้องการภาพที่มีคุณภาพแบบกล้องมืออาชีพ ซึ่งส่งผลต่อ: ความลึกของภาพ (Depth of field) แสงเงาธรรมชาติ รายละเอียดของผิวและพื้นผิว ฟิล์ม...

The Art of Being Wise: ศิลปะแห่งความฉลาด คือการ “รู้ว่าเมื่อไหร่ควรปล่อย”

Image
  ไปอ่านเจอมา ... ชอบมาก "The art of being wise is knowing WHO to ignore, WHAT to overlook, WHERE to leave things, WHEN to move on, and WHY it’s all necessary." — ปรัชญาชีวิตที่เรียบง่าย แต่ทรงพลัง สำหรับผู้เขียนมีทัศนคติต่อข้อความนี้ แบบนี้ ครับ 🧠 ความฉลาด…ไม่ใช่การรู้ทุกเรื่อง ในยุคที่ข้อมูลไหลบ่า ความเห็นหลากหลาย และทุกคนพูดเสียงดัง คนที่ “ฉลาดจริง” ไม่ใช่คนที่รู้มากที่สุด หรือโต้ตอบเก่งที่สุด แต่คือคนที่ รู้จักเลือกว่าจะรับ อะไรไว้ และปล่อย อะไรไป 1. WHO to ignore – ใครที่ควรมองข้าม ไม่ใช่ทุกคนที่คู่ควรกับความใส่ใจของเรา คนที่พูดแต่เรื่องลบ คนที่เอาแต่ตัดสิน คนที่ดูดพลังชีวิต ศิลปะของความฉลาดคือรู้ว่า...เรามีสิทธิไม่ฟัง 2. WHAT to overlook – เรื่องไหนควรปล่อยผ่าน เราไม่จำเป็นต้องตอบโต้ทุกประโยค ไม่ต้องเก็บทุกคำพูดมาใส่ใจ การมองข้ามเรื่องเล็ก ๆ ที่ไม่สำคัญ ช่วยให้ใจเราสงบกว่าเดิม เรื่องบางเรื่อง...ไม่พูดถึงดีกว่า 3. WHERE to leave things – วางบางเรื่องไว้ตรงนั้น บางความขัดแย้งควรจบตรงที่มันเริ่ม บางความทรงจำควรปล่อยให้เป็นอดีต การแบกเรื่องที...

Fact และ Truth: เรียนรู้ชีวิตผ่านบทสนทนาจาก "The Life List"

Image
  ภาพจาก Netflix เปิดบทเรียนชีวิตผ่านฉากที่น่าจดจำ ช่วงสายวันเสาร์ที่ผ่านมา ผู้เขียนมีเวลาสบาย ๆ ส่วนตัว เลือกหาภาพยนตร์บน Netflix ดูเพลิน ๆ ตัดสินใจเลือกเรื่อง "The Life List" ซึ่งก็ไม่ผิดหวัง มีฉากที่สร้างความประทับใจและสะท้อนชีวิตได้อย่างลึกซึ้ง ที่ติดใจจริง ๆ คือฉากที่นางเอกได้พบกับพ่อผู้ให้กำเนิดที่ไม่เคยเจอหน้ากันมาก่อนในชีวิต การสนทนาในฉากนี้นำมาซึ่งคำกล่าวที่น่าจดจำอย่างยิ่ง เป็นคำกล่าวของฝ่ายพ่อที่ว่า  "ชีวิตมีทั้ง Fact และ Truth เราต้องอยู่กับมันให้ได้"  ประโยคนี้ได้กลายมาเป็นแรงบันดาลใจสำคัญให้ผู้เขียนเขียนบทความนี้ Fact และ Truth: ความแตกต่างที่สำคัญแต่เรามักมองข้าม "Fact" หรือข้อเท็จจริง คือสิ่งที่สามารถพิสูจน์หรือยืนยันได้ด้วยข้อมูลที่ชัดเจน เป็นเรื่องของความจริงที่มีลักษณะเป็นรูปธรรม เช่น เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริง สถิติ ข้อมูล หรือข้อพิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งไม่เปลี่ยนแปลงไปตามความคิดเห็นหรืออารมณ์ของใคร ข้อเท็จจริงมักจะมีความแน่นอนและมีหลักฐานรองรับที่ชัดเจน ในทางกลับกัน "Truth" หรือความจริง เป็นสิ่งที่มีลักษณะเป็นนามธรรมและซ...

Deep Research: เครื่องมือใหม่ของ ChatGPT สำหรับการค้นคว้าเชิงลึกแบบมืออาชีพ

Image
หากผู้อ่านเคยรู้สึกว่า การค้นคว้าข้อมูลเพื่อศึกษาเรื่องใดเรื่องหนึ่งอย่างจริงจังนั้นใช้เวลามาก และมักเจอแต่แหล่งข้อมูลที่ไม่น่าเชื่อถือหรือกระจัดกระจาย ฟีเจอร์ใหม่จาก OpenAI ที่ชื่อว่า Deep Research อาจเป็นคำตอบที่เปลี่ยนวิธีการศึกษาของเราไปโดยสิ้นเชิง Deep Research บน ChatGPT (เฉพาะ GPT-4 Turbo) เปิดให้ใช้ทั่วโลกในวันนี้ 25 เมษายน 2568 เป็นฟีเจอร์ที่ช่วยให้ผู้ใช้งานสามารถค้นหาข้อมูลจากแหล่งที่เชื่อถือได้ เช่น รายงานวิจัย บทความวิชาการ ข่าวจากสื่อหลัก และเว็บไซต์คุณภาพสูง พร้อมสรุปผลในรูปแบบที่เข้าใจง่าย โดยมีการอ้างอิงแหล่งข้อมูลให้พร้อมในตัว ทำไม Deep Research จึงน่าสนใจ? ไม่ว่าผู้อ่านจะกำลังทำรายงานวิชาการ ค้นคว้าเพื่อเตรียมงานนำเสนอ หรือเพียงต้องการทำความเข้าใจเรื่องใดเรื่องหนึ่งให้ลึกและรอบด้าน Deep Research ช่วยให้การศึกษาเป็นเรื่องง่ายขึ้น ด้วยคุณสมบัติเด่น เช่น: ข้อมูลสดใหม่จากแหล่งที่น่าเชื่อถือ อ้างอิงพร้อมลิงก์ตรวจสอบได้จริง สรุปเนื้อหาให้อยู่ในรูปแบบเข้าใจง่าย ประหยัดเวลาในการค้นคว้าเองหลายชั่วโมง เริ่มต้นใช้งาน Deep Research ได้อย่างไร? ต้องใช้ Chat...

ความรู้ที่ใช่ สำคัญกว่าปริมาณ: ยกระดับ KM สู่การสร้างมูลค่าองค์กร

Image
ในกระบวนการบริหารจัดการความรู้ (Knowledge Management หรือ KM) ขององค์กร สิ่งหนึ่งที่ผู้เขียนมักพบจุดที่เป็นปัญหา คือการที่ผู้เกี่ยวข้องนำความรู้ทั่วไป หรือบทความทั่วไป หรือข้อมูลจากงานวิจัยภายนอกที่สามารถสืบค้นได้ง่ายมาจัดเก็บเป็นองค์ความรู้ขององค์กร ซึ่งทำให้ฐานข้อมูลมีข้อมูลซ้ำซ้อน ลดคุณค่า และทำให้การค้นหาความรู้ที่มีประโยชน์เป็นไปได้ยากขึ้น สาเหตุสำคัญของปัญหานี้ ผู้เขียนคาดเองว่าน่าจะมาจากการขาดความเข้าใจในเรื่องนิยามและขอบเขตของ "องค์ความรู้ขององค์กร" โดยความรู้ที่ควรถูกจัดเก็บและจัดการ ควรเป็นความรู้ที่เฉพาะเจาะจง (Unique Knowledge) มีความเกี่ยวข้องกับงานขององค์กรโดยตรง และมีศักยภาพในการสร้างคุณค่าต่อกระบวนการทำงาน การนำข้อมูลทั่วไปที่พบได้ง่ายจากแหล่งภายนอก เช่น งานวิจัยที่ไม่มีการปรับบริบทหรือบทความทั่วไปจากอินเทอร์เน็ต เข้ามาจัดเก็บเป็นความรู้ขององค์กร จะส่งผลกระทบในหลายด้าน เช่น ความซ้ำซ้อนของข้อมูล ทำให้เกิดความสับสนในการค้นหา ความน่าเชื่อถือของฐานความรู้ลดลง เนื่องจากขาดความเฉพาะเจาะจงต่อบริบทองค์กร สิ้นเปลืองทรัพยากรทั้งด้านเวลา ค่าใช้จ่าย และพื้นที่จ...