Saturday, March 29, 2025

เหตุการณ์แผ่นดินไหว 28 มีนาคม 2568 กับผลกระทบในประเทศไทย


เมื่อวันที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2568 ประเทศไทยได้รับผลกระทบจากแผ่นดินไหวขนาดใหญ่ที่เกิดขึ้นในประเทศเพื่อนบ้านอย่าง เมียนมา แม้จะไม่มีศูนย์กลางอยู่ในไทยโดยตรง แต่แรงสั่นสะเทือนกลับส่งผลต่ออาคารสูงในหลายจังหวัด รวมถึงเกิดเหตุอาคารถล่มในพื้นที่กรุงเทพมหานครด้วย

🕒 Timeline เหตุการณ์

13:20 น.
เกิดแผ่นดินไหวขนาด 7.7 แมกนิจูด ความลึก 10 กิโลเมตร ที่พิกัด 22.07°N, 96.12°E ประเทศเมียนมา

13:22 น.
แรงสั่นสะเทือนรับรู้ได้ในหลายพื้นที่ของประเทศไทย เช่น กรุงเทพฯ, เชียงใหม่, พิษณุโลก, เชียงราย และนครสวรรค์ โดยเฉพาะในอาคารสูง

13:30 น.
อาคารสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) ย่านจตุจักร ซึ่งอยู่ระหว่างการก่อสร้าง พังถล่มบางส่วน มีคนงานติดค้างอยู่ภายในจำนวนมาก

14:00 น.
หน่วยกู้ภัยเข้าพื้นที่และเริ่มภารกิจค้นหาและช่วยเหลือผู้ติดใต้ซากโครงสร้างทันที

14:30 น.
มีการ ปิดถนนกำแพงเพชร 2 ช่วงเจเจมอลล์ เพื่อความปลอดภัยและสนับสนุนงานกู้ภัย

15:00 น.
กรมอุตุนิยมวิทยาแถลงยืนยันว่า ไม่มีความเสี่ยงจากสึนามิ ในพื้นที่ชายฝั่งของประเทศไทย

15:30 น.: นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ลงนามประกาศให้กรุงเทพมหานครเป็นเขตประสบสาธารณภัย เพื่อให้การช่วยเหลือประชาชนเป็นไปอย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ

17:00 น.
มีการระดมเครื่องมือหนักเพิ่มเติมเข้าช่วยในการค้นหาผู้ติดค้าง

19:00 น.
รายงานระบุมีผู้รอดชีวิตถูกช่วยออกมาได้หลายราย และยังมีผู้ที่อยู่ระหว่างการค้นหาเพิ่มเติม

19:30 น.: นางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เดินทางมายังศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร เพื่อร่วมประชุมติดตามสถานการณ์และสั่งการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับผลกระทบ

21:00 น.: ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร แถลงข่าวสรุปสถานการณ์แผ่นดินไหว โดยระบุว่ามีผู้เสียชีวิต 7 ราย และบาดเจ็บ 8 ราย จากเหตุอาคารสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินถล่มในพื้นที่จตุจักร และเครนก่อสร้างล้มที่แยกบางโพ

นอกจากนี้ กรุงเทพมหานครได้เปิดสวนสาธารณะ 5 แห่ง ได้แก่ สวนลุมพินี, สวนจตุจักร, สวนเบญจกิติ, สวนเบญจสิริ และศูนย์กีฬาเฉลิมพระเกียรติ (ทุ่งครุ) ตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อรองรับประชาชนที่ได้รับผลกระทบ

ช่วงค่ำ – กลางคืน
เจ้าหน้าที่เฝ้าระวังแรงสั่นสะเทือนซ้ำ (Aftershock) ซึ่งไม่พบว่ามีผลกระทบเพิ่มเติมในไทย

การตรวจสอบอาคาร (คืนวันที่ 28 – เช้าวันที่ 29)

  • สำนักการโยธา และสำนักงานเขตเริ่มตรวจสอบอาคารสูงและอาคารเก่าทั่วกรุงเทพฯ

  • เร่งจัดทำรายชื่ออาคารที่อาจมีความเสี่ยง และขอความร่วมมือให้ผู้ประกอบการส่งวิศวกรตรวจสอบโครงสร้างภายใน 7 วัน


✅ ข้อสังเกตสำคัญ

  • แผ่นดินไหวครั้งนี้ย้ำเตือนถึงความเสี่ยงที่ประเทศไทยอาจได้รับจากเหตุการณ์นอกประเทศ

  • อาคารสูงและไซต์ก่อสร้างจำเป็นต้องมีมาตรการด้านโครงสร้างและความปลอดภัยที่เข้มงวด

  • แอป Thailand Disaster Alert ของ ปภ. ใช้การไม่ได้ (ใช้เงินภาษีประชาชนไปเท่าไหร่ครับ ผมอยากรู้)

  • ระบบแจ้งเตือนภัยพิบัติ เช่น Disaster Alert หรือ Earthquake Network ที่ใช้งานได้จริง ควรติดตั้งใช้งานทั้งในระดับบุคคลและองค์กร



No comments:

Post a Comment

Most Viewed Last 30 Days